เมื่อก่อนการ “เป่ายิ้งฉุบ” มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการตัดสินใจ ในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ นิยมใช้เป็นเกมๆหนึ่งในวงเหล้า หรือเเม้เเต่จัดการประลองในชนชั้นสูงของจีนก็เคยมี
จากนั้นการเล่นนี้ ได้ถูกถ่ายทอดจากจีนมาสู่ญี่ปุ่น โดยสัญลักษณ์ได้ถูกเปลี่ยนความหมายตามความเชื่อที่ต่างกัน
จีน(ราชวงศ์ฮั่น) = กบ / ตะขาบ / งู ใช้ชื่อว่า shoushiling
ญี่ปุ่น(ราชวงศ์เอนโด) = กบ / ตัวทาก / งู ใช้ชื่อว่า mushi-ken
รูปแบบของ Mushi-ken ดู จะเข้าใจง่ายที่สุด ต่างจากเกมอื่นๆในสมัยนั้น มันเลยถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากยุคเกษตรกรรมเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม มุมมองของคนก็เปลี่ยนไปเช่นกัน จนท้ายที่สุด ได้เปลี่ยนมาเป็น หิน / กรรไกร / กระดาษ ในช่วงราชวงศ์เอนโด-เมจิ เเละใช้ชื่อว่า “Janken”
[ การแข่งขันเป่ายิ่งฉุบของ AKB48 ]
ปัจจุบันมันได้ถูกพัฒนาออกมาเป็นเกมหลายรูปแบบ หลายวิธี ทั่วโลก ซึ่งล้วนถูกปรับใช้อย่างเหมาะสม ตามความชื่นชอบของวัฒนธรรมนั้นๆ เเละมีความหมายที่เเตกต่างกันไป เช่น
ไทย = ค้อน / กรรไกร / กระดาษ
เกาหลี = หิน / กรรไกร / ผ้า ( 가위바위보 )
ฮ่องกง( Cantonese ) = จะห่อ / จะตัด / จะตี ( 包,剪,𢱕 )
สวีเดน = หิน / กรรไกร / ถุง ( Sten, sax, påse )
Source : wikipedia.org-Sansukumi-ken
0 comments on “ที่มาของการเป่ายิ้งฉุบ?”