เขาทำยังไงให้คนทั้งโลกเชื่อว่าแซลมอนกินดิบๆได้?

ในปี  1995 ผู้คนในญี่ปุ่นยังไม่ทานแซลมอนเเบบดิบๆกันเลย เหตุผลของมันก็คือปลาแซลมอนที่ทะเลแปซิฟิกมีพยาธิอาศัยอยู่มาก พวกเขาจึงต้องทำให้มันสุกก่อนรับประทานเสมอ

ชาวนอร์เวย์รู้อยู่เเล้วว่าเเซลมอนมีมากเหลือเกินในมหาสมุทรเเอตเเลนติกเเละก็สะอาดพอที่จะกินดิบๆได้ เเต่พวกเขาขายมันได้ยากมาก ถึงเเม้จะขายได้ก็ได้กำไรไม่มากนักในเเถบนั้น จนพวกเขาได้รู้จักวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่นิยมกินปลาดิบมากๆ พวกเขามองว่านั่นคือตลาดใหม่ที่พวกเขาจะต้องเข้าไปทำธุรกิจให้ได้

ในช่วงปี 1990s ญี่ปุ่นต้องเพิ่มจำนวนปลานำเข้ามากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ พวกเขาประสบปัญหาปลาล้นตลาดในช่วงฤดูใบไม้ร่วงก็จริง เเต่พวกเขาไม่สามารถสต๊อกปลาไว้ได้นานได้เนื่องจากความซับซ้อนจากระบบไหลเวียนน้ำของน่านน้ำญี่ปุ่นทำให้ปลาไม่มีคุณภาพพอที่จะรับประทานเเบบดิบๆได้ ทำให้ต้องส่งออกปลาไปต่างประเทศในท้ายที่สุด

เข้าทางกับรัฐบาลนอร์เวย์ที่ต้องการขายปลาแซลมอนที่สามารถกินดิบๆได้ทั้งปีให้พวกเขา ซึ่งมันน่าจะมีราคาสูงมากกว่าปลาที่ต้องทำให้สุกก่อนกินถึง 10 เท่า

ในปี1974 รัฐบาลนอร์เวย์ได้ไปเยือนญี่ปุ่นเพื่อทำการค้า เเละได้พลักดัน “Project Japan ” ให้เกิดขึ้นโดยจุดประสงค์หลักคือการส่งออกเเซลมอนให้กับญี่ปุ่น[ Image source : http://www.norwayexports.no ]

ในปี 1986 -1991  รัฐบาลได้ว่าจ้าง บียอน เอริค โอลเซน ( BJORN EIRIK OLSEN ) ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดอาหารทะเลของนอร์เวย์ ให้หาวิธีขายเเซลมอลที่ญี่ปุ่นให้ได้ เขาบินไปญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมการประชุมกับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นเพื่อโน้มน้าวใจให้พวกเขาเข้าใจว่าแซลมอนนอร์เวย์นั้นสะอาดเเละกินดิบๆได้จริง

เเต่ชาวญี่ปุ่นบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอก “เราไม่กินเเซลมอนดิบๆในญี่ปุ่น”

พวกเขาไม่กินเเซลมอนดิบๆกัน บอกว่ามันกลิ่นไม่ดี รสชาติก็เเย่ สีก็ดูซีดๆไม่น่ากิน

บียอนนำคำวิจารณ์นี้มาปรับปรุง ทำให้กลิ่นคาวน้อยลง พัฒนาเรื่องอาหารที่ปลาจะกิน และปรับสีให้มันเเดงขึ้น

ในช่วงเเรกๆบียอนพยายามขายแซลมอนโดยการที่บอกว่าพวกมันมาจากเเหล่งน้ำที่สะอาดที่สุด ตัวใหญ่สุขภาพดี ไม่มีพยาธิเเน่นอน เเต่มันก็ไม่ได้ผล เขาเข้าใจดีว่าการที่ไปบอกคนที่บริโภคเเซลมอนเเบบสุกๆมากว่าร้อยปีให้มากินปลาดิบๆเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากเหลือเกิน เเต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ถ้าเขาลองเปลี่ยนวิธีนำเสนอดู

เเซลมอนดิบๆถือเป็นอาหารเลื่องชื่อในงานเลี้ยงที่สถานทูตนอร์เวย์ในญี่ปุ่นมาหลายปี มันยังไม่ถูกทำให้เป็นซูชิในตอนนั้น ซึ่งบียอนก็มองว่ามันเป็นไอเดียที่ดีเหมือนกัน

เมื่อชาวญี่ปุ่นได้ลองทานเเซลมอนดิบๆในงานพวกเขาก็ไม่ได้ตำหนิเรื่องรสชาติเเต่อย่างใด ติดอยู่ที่พวกเขายังไม่ชินกับกลิ่นมันเท่าไหร่นัก เเต่รวมๆเเล้วพวกเขาก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรที่จะทานมัน  เพราะฉะนั้น บียอนรู้ว่าปัญหาหลักๆไม่ได้อยู่ที่ปลาเเน่ๆ…เเต่มันอยู่ที่วิธีการคิดของคน

พวกนักธุรกิจอาจจะมองว่ามันอาจจะนำมาขายในตลาดบน ตามร้านอาหารเเพงๆหรือโรงเเรมได้ ถึงเเม้ว่ารัฐบาลนอร์เวย์อยากจะขายมันเเพงๆตามนั้นก็เถอะ เเต่การกำหนดกลุ่มเป้าหมายคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความเป็นจริงอาจจะทำให้มันขายไม่ได้เลย

ต่อมาบียอนได้มีโอกาสเสิร์ฟ เเซลมอนให้นักธุรกิจผู้เชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมอาหารทะเลในญี่ปุ่นอีกครั้ง โดยการใช้ข้าวห่อปลาเเซลมอนไว้ข้างใน ทำเหมือนว่าซ่อนมันเอาไว้ เเล้วเปลี่ยนจากคำว่า sake ( ที่เน้นเสียงที่คำเเรกต่างจากเหล้าซาเก) ซึ่งเป็นคำที่คนเรียกปลาแซลมอนในตอนนั้น มาเป็นชื่อ sāmon ที่ใช้กันจนถึงปัจจุบัน

เเต่พวกเขาก็ยังไม่ชอบมันอยู่ดี

สต๊อกแซลมอนเเช่เเข็งยังคงเหลืออยู่หลายตันเเล้วมันก็ขายไม่ออกซะที บียอนได้รับเเรงกดดันจากทุกๆด้าน เขาต้องการขายมันให้ได้ในล็อตใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อระบายสินค้าออกไปถึงเเม้ว่าจะต้องขายมันในราคาถูกสุดๆก็ตาม เขาไม่มีทางเลือกมากนักในตอนนั้น

เขาได้เข้าไปคุยกับบริษัทนำเข้าส่งออกอาหารเเช่เเข็ง Nishi Rei ทุกๆคนในญี่ปุ่นรู้จักบริษัทนี้ดี พวกเขาส่งออกอาหารมานานหลายปีเช่น เกี๊ยว , ไก่ , นักเก็ต , ปลาหมึก เเต่ครั้งนี้บียอนอยากให้พวกเขาช่วยส่งออกเเซลมอนให้หน่อย เเต่มันจะต้องเป็นในรูปแบบของซูชิเท่านั้น

โชคดีที่ Nishi Rei ตอบตกลงกับความเสี่ยงในครั้งนี้  พวกเขาซื้อมันไปขายต่อ 5,000 ตัน โดยเเทบจะไม่ได้กำไรอะไรเลย เเต่นั่นคือหนึ่งในดีลที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์อาหารโลก

นี่คือโอกาสสำคัญที่ผู้คนทั่วไปจะได้ลองชิมมันดู ไม่ใช่ได้ชิมเพียงเเค่นักธุรกิจที่มากประสบการณ์จากอุตสาหกรรมด้านอาหารเหมือนอย่างที่ผ่านมา

บียอนรู้ดีว่าถ้าผู้คนได้ลองชิมมันดูจะต้องชอบมันอย่างเเน่นอน เเล้วมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ

แซลมอนซูชิถูกขายด้วยราคาถูกๆในตลาดที่ญี่ปุ่นเป็นครั้งเเรกเเล้วผู้คนก็อยากลองชิมมันดู  มันเป็นความรู้สึกแปลกๆที่พวกเขาไม่เคยสัมผัสมาก่อน ครั้งเเรกมันอาจจะแหวะๆหน่อย ครั้งต่อมารสชาติของมันแปลกๆมันๆดี พอครั้งที่สามผู้คนเริ่มรู้สึกชอบมัน

สีที่ปลาเเซลอนที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า

จากความสงสัยแปลเปลี่ยนเป็นวิถีชีวิตของคนในท้ายที่สุดโดยการเเนะนำกันเเบบปากต่อปาก

มีการนำปลาแซลมอนไปออกรายการ “Iron Chef” เพื่อนำมาทำเป็นอาหารในรูปแบบต่างๆจากเชฟผู้มากฝีมือพร้อมกับเหล่าดาราที่มีชื่อเสียงมาช่วยชิม มันถูกเเนะนำว่าเป็นปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ ที่มีความมัน นุ่มลิ้น สะอาด เเละสีสรรค์น่ากินเป็นที่สุด เเละหลังจากนั้นราคาของปลาแซลมอนเกรดดีก็มีราคาสูงขึ้นไปอีก

พวกเขาต้องใช้เวลานาน 10 กว่าปีกว่าจะทำให้ผู้คนเชื่อว่าปลาแซลมอนนั้นสามารถกินดิบๆได้จริง

ท้ายที่สุดพวกเขาสามารถนำปลาทั้งตัวไปขายในตลาดปลาที่ญี่ปุ่นได้สำเร็จ ในปี 2007 จนทำให้คนเชื่อว่านั่นเป็นปลาที่มาจากญี่ปุ่น

ทุกวันนี้ญี่ปุ่นได้นำเข้าปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ ราว 5 เเสนตันต่อปี

บียอนรู้สึกว่าเขาทำสำเร็จตอนที่เขากลับไปญี่ปุ่นอีกครั้ง เเล้วเห็นหุ่นจำลองพลาสติกรูปแซลมอนซูชิติดอยู่หน้าร้านซูชิทั่วทั้งเมือง

บียอนยังทิ้งท้ายความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ว่า “ทุกๆความสำเร็จมักจะต้องมีโชคอยู่ในนั้นเสมอ”

เเต่มันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าเขา “ไม่ให้โอกาสตัวเอง” …ได้เจอกับโชคเหล่านั้น

 

 

 

Sources : www.norwayexports.no , medium.com

follow

 

 

 

 

 

Leave a comment

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.