เหตุผลที่ประเทศ “ที่กำลังพัฒนา” ประเทศหนึ่ง ไม่สามารถขยับตัวขึ้นไปสู่ประเทศที่พัฒนาเเล้วก็คือ พวกเขาได้ประเมินความสามารถของตัวเองสูงเกินไป การที่คนในประเทศเลือกใช้ชีวิตในเเบบบริโภคนิยมเเทนที่การพยายามลองสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นมา ไม่อาจทำให้ประเทศก้าวไปสู่การเป็น “ประเทศที่พัฒนาเเล้ว”
การก๊อปแนวคิดจากต่างประเทศยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ เพราะก่อนที่เราจะสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาได้ เราอาจจะต้องเรียนรู้ที่จะก๊อปงานจากคนที่เก่งกว่าเรา “ให้เหมือน” เสียก่อน
และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ก๊อปแล้วไงต่อ”
เพราะการก๊อปต่างชาติไม่ใช่เรื่องผิดศีลธรรมขนาดนั้น
เยอรมัน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สหรัฐฯ, ล้วนเคยเป็นประเทศที่ “กำลังพัฒนา” ทั้งสิ้น เเต่มีสิ่งหนึ่งที่พวกเขาทำเหมือนๆกันคือ “วัฒนธรรมการก๊อป ” จากประเทศที่พัฒนากว่า
ก๊อปนวัตกรรม , เทคโนโลยี , เเนวคิด พวกเขาใช้เวลาถอดเเบบเป็นปีๆเพื่อให้งานก๊อปเหล่านั้นมีคุณภาพ เเละสิ่งที่สำคัญคือ พวกเขาสามารถนำสิ่งนั้น มาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้
เมื่อการก๊อปนี้ผลักดันให้ประเทศ ก้าวไปสู่ประเทศในกลุ่มที่พัฒนาเเล้ว พวกเขาจะต้องสร้างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ เพราะต้องการให้มั่นใจว่า คนรุ่นๆใหม่ที่จะเข้ามาทำงานในอนาคต จะได้ทำงานที่มีความเหมาะสมกับกาลเวลาในขณะนั้น
เเละการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมานี้จะเป็นการลงทุนระยะยาว ที่สามารถสร้างมูลค่ามหาศาลได้ในอนาคต
ในอดีต สหรัฐฯ ไม่ยอมร่วมสนธิสัญญาเบิร์นจนถึงปี 1989 เพราะต้องการลอกหนังสือจากชาติยุโรป
Sony ของประเทศญี่ปุ่นลอกเเนวคิดของสหรัฐฯ จนสามารผลิตวิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องเเรกได้ในช่วง 1950s
Samsung ซื้อไมโครเวฟมาจากชาติอื่นมาเเกะเเบบเเละผลิตขึ้นมาใหม่เป็นชื่อของตัวเองในปี 1976
เกาหลีใต้ได้เริ่มลอกเเบบรถญี่ปุ่นมาตั้งเเต่ 1986 พวกเขาเปลี่ยนแบบมากว่า 288 จนผลิตรถสัญชาติตัวเองได้สำเร็จ เเละสามารถนำมาเเข่งขันทางการค้ากับชาติญี่ปุ่นได้แบบจริงๆจังๆในปี 1995
เเม้เเต่ไก่ทอดเกาหลีฯ ยังได้ลอกวัฒนธรรมการกินของชาวอเมริกันมา ตั้งเเต่ช่วงสงครามเกาหลี จากที่เคยนิยมกินเเต่ไก่นึ่งมาโดยตลอด
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ถูกจับได้ว่าลอกงานคนอื่น ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่เขาทำในปี 1955 ถึงเเม้ว่าจะมีการรายงานเรื่องนี้สู่สาธารณะชน เเต่ภาพพจน์ “ฮีโร่” ในตัวเขาก็ไม่ได้ลดลงเลย การที่ผู้คนมองข้ามเรื่องนี้ไปอาจเป็นเพราะการเป็นนักสิทธิมนุษย์ชน ได้ให้ประโยชน์เเก่ผู้คนมหาศาล เหนือกว่าสิ่งที่ในตำราเรียนจะทำได้ ถ้าเขาเลือกที่จะทำงานอาชีพอื่น การลอกงานในครั้งนั้น อาจจะส่งผลเสียต่อตัวเขามากกว่านี้
ในเบอร์ลิน , เยอรมัน มีบริษัทที่ชื่อ Rocket Internet พวกเขามีหน้าที่ก๊อปงานจากชาติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Linio ที่ลอก Amazon มาเพื่อใช้ในเม็กซิโก , Zalora ที่ลอก Zappos มาเพื่อใช้ในมาเลเซีย , Easy Taxi ที่ลอก Uber มาใช้ในไนจีเรีย เเละที่เรารู้จักกันดีคือ Lazada ที่พวกเขาทำให้กับสิงค์โปร ก็ไม่ใช่เเนวคิดอะไรที่แปลกใหม่ซับซ้อนเลย

ก๊อปคัลเจอร์เเบบจีน
เราอยู่ในยุคที่เห็นจีนเป็นชาตินักก๊อปอยู่ เพราะส่วนหนึ่งมาจาก การที่พวกเขาเข้าใจตนเองว่า พวกเขายังคงเป็นประเทศที่ “กำลังพัฒนา” อยู่ ทั้งๆที่หลายพันปีก่อนพวกเขาเป็นผู้คิดค้น จานเซรามิก , กระสุนดินปืน , ผ้าไหม , เข็มทิศ , นาฬิกา ไม้ขีดไฟ ฯลฯ
เทคโนโลยีของโลกอาจยังไม่ถึงไหน ถ้าจีนเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์จากทุกๆงานที่โดนก๊อปไป ตั้งเเต่ 2 พันปีที่เเล้ว
อาจจะดูเหลือเชื่อที่จีนยังคงเป็นประเทศในกลุ่มที่ “กำลังพัฒนา”อยู่ พวกเขามีนวัตกรรมอัจฉริยะมากมายเกิดขึ้น มีมหาเศรษฐีหมื่นล้านก็หลายคน เเต่ข้อเท็จจริงที่เราไม่ค่อยได้รู้ก็คือ ประเทศจีนยังคงมีคนจนอยู่ราวๆ 30 ล้านคน เเต่ยังถือว่าดีกว่า 30 ปีก่อนมากๆ ที่จีนมีประชากรที่ยากจนกว่า 500 ล้านคน
เเละอุตสาหกรรมการก๊อปนี้เองที่ทำเศรษฐกิจในประเทศก้าวกระโดด มันทำให้คนจนที่เเต่เดิมทีทำอาชีพเกษตรกรรมได้เรียนรู้การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น จนเลื่อนฐานะตัวเองขึ้นมาได้สำเร็จ
ส่วนคนที่มีความคิดหน่อย พวกเขาสามารถนำสิ่งที่เขาเรียนรู้มาต่อยอด เเละขยับฐานะตัวเองขึ้นมาได้อีกระดับหนึ่ง เป็นวัฏจักรเเบบนี้ไป
พวกเขามองว่าการลอกเป็นโอกาสในการเรียนรู้ที่สำคัญ มากกว่าการมองว่าเป็นเรื่องผิดศีลธรรม เเละพวกเขาก็เข้าใจมันเป็นอย่างดี
อีกหนึ่งวัฒนธรรมการก๊อปของจีนคือการก๊อป “เมืองทั้งเมือง”
เเนวคิดบริโภคนิยมที่ยังไม่ถึงเวลา
กฎหมายในประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ล้วนมีความยืดหยุ่นต่อเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น เพราะพวกเขารู้ตัวดีว่า…ยังมีอีกหลายอย่างที่ยังต้องเรียนรู้
ซึ่งการให้ความรู้ในขอบเขตของการลอก “ที่พึงกระทำได้” น่าจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่าต่อผู้ประกอบการ
สิ่งที่เป็นตัวหยุดยั้งการเรียนรู้ได้ดีที่สุด คือ การที่เราคิดว่าเราฉลาดเเล้ว พัฒนาเเล้ว ทั้งๆที่เรายังไม่ไปไหน เราล้วนเเต่ สนุกไปกับการบริโภค การเสพ จนละเลยที่จะสร้างสรรค์ หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เเล้วสร้างมันขึ้นมา
เรามีกฎหมายที่สร้างภาพว่า “การลอก” เป็นเหมือนการก่ออาชญากกรรมอย่างหนึ่ง เเล้วมีคนที่รอซ้ำเติมอยู่ตลอดเวลา ทั้งๆที่การลอกเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญ ก่อนที่การพัฒนาจะเกิดขึ้น เเละการลอกอย่างมี “จรรยาบรรณ ” เป็นสิ่งที่พึงกระทำ ถ้าคุณรู้ว่าคุณยังไม่เก่งพอ เเละยังต้อง “เรียนรู้” จากชาติที่เก่งกว่าอยู่
หัวใจที่สำคัญของการลอกนั้น คือ เราจะสามารถนำสิ่งที่เราลอกนั้นมาต่อยอด เเละสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมาได้อย่างไร
เพราะประเทศของเรายังคงต้องเรียนรู้ เเละการใช้ชีวิตในเเบบ “บริโภคนิยม” …อาจจะยังไม่ถึงเวลา
เรียนรู้วัฒนธรรมการก๊อปเพิ่มเติมได้ในคลิป “เกาหลีใต้ลอกเรียนจนได้ดี”
Sources :
en.wikipedia.org/wiki/Poverty_in_China
en.wikipedia.org/wiki/Korean_fried_chicken
ติดตามเพจ :
0 comments on “เพราะการก๊อปต่างชาติ…ไม่ใช่เรื่องผิดศีลธรรม(ขนาดนั้น)?”