ในอนาคตอันใกล้ เมืองใหญ่ๆอาจจะไม่ใช่สถานที่ ที่เหมาะเท่าไรนัก สำหรับคนรุ่นใหม่ๆ ที่จะเข้ามาเริ่มต้นทำงาน หรือทดลองเเนวคิดใหม่ในการทำธุรกิจ พวกเขาจะเสี่ยงเกินไป จนไม่กล้า ที่จะทดลองอะไร
จะมีเพียงกลุ่มที่ครอบครัวมีฐานะเท่านั้น ที่จะมีโอกาสได้ทดลองกับสิ่งที่พวกเขาอยากจะทำ ได้มีโอกาสที่จะล้มเหลวซ้ำๆ เรียนรู้ เเละประสบความสำเร็จ
“ทางเลือก” คือสิ่งที่เป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การสร้างเมืองใหม่หรือ การปฏิรูปพัฒนาโครงสร้างเมืองในต่างจังหวัดให้ดีขึ้น จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
มีหลายๆประเทศประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พวกเขาเปลี่ยนเมืองที่เป็นเมืองแห่งมลพิษให้กลายเป็นเมืองที่สะอาดที่สุด เปลี่ยนเมืองที่อันตรายให้เป็นเมืองที่ปลอดภัย เปลี่ยนเมืองแห่งความสิ้นหวังให้กลายเป็นเมืองที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจินตนาการเเห่งความเป็นไปได้
อย่างที่ประเทศในกลุ่มที่กำลังพัฒนา เหมือนๆกับประเทศของเรา ได้ทำสำเร็จมาเเล้ว ไม่ว่าจะเป็นที่ กานา เอธิโอเปีย เวียดนาม โคลอมเบีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก ฯลฯ
เพราะฉะนั้นการรั้งรอที่จะเเก้ไขปัญหานี้ จึงเป็นเพียงเเค่ข้ออ้างเท่านั้น
ลองจินตนาการว่าคุณมีโอกาส ที่จะได้สร้างเมืองๆหนึ่ง ในเเบบที่มันควรจะเป็น ในสไตล์ของคุณ มันจะต้องเริ่มต้นจากจุดไหน?
ต่อไปนี้จะเป็นขั้นตอนสำคัญ ที่จะทำให้เมืองๆหนึ่งเกิดขึ้นมาได้ เเล้วลองมาดูกันสิว่า…มันจะยากเย็นเเค่ไหนเชียว

1. เลือกสถานที่
เราต้องทำความเข้าใจภูมิศาสตร์ ที่ตั้งของเมืองให้ถ่องแท้เสียก่อน เป็นเมืองที่อยู่บนเนินเขา ติดทะเล ติดประเทศเพื่อนบ้าน สภาพของดินเป็นอย่างไร มีพายุเข้ามาบ่อยไหม อะไรก็ตามที่เป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้
พื้นที่ที่จะได้รับความนิยมในการนำไปพัฒนาที่สุดคือ พื้นที่ปลอดมลพิษเเละภัยธรรมชาติ จะต้องเเน่ใจว่าจะไม่มีควัน มีมลพิษที่ลอยมาจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือเเหล่งน้ำเน่าเสีย ที่คนในพื้นที่ตัวเองไม่ได้เป็นคนก่อ
ถ้าหากยังคงเป็นพื้นที่ที่ยังคงต่อสู้ เพื่อเเย่งชิงพื้นที่กันอยู่ จะต้องเคลียร์ปัญหานี้ให้ได้เสียก่อน ซึ่งเเนวคิดการสร้างเมืองใหม่นี้อาจจะทำให้ทั้ง 2 ฝ่าย ชื่นชอบก็ได้
เเต่ที่สำคัญ ต้องมั่นใจได้ว่า…มีแหล่งพลังงานเพียงพอ
ถือว่าเป็นอะไรที่เบสิคสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือเเหล่งน้ำที่สามารถนำมาบริโภคได้ หลายประเทศมองข้ามจุดนี้ไป เเละพลาดมาเเล้วนักต่อนัก
2. รายได้จะมาจากไหน
การบริหารเงิน เป็นจุดอ่อนมากๆในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา
ยกตัวอย่างเช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ Songdo เมือง Incheon เกาหลีใต้ หนึ่งในเมืองที่ถือว่าล้ำยุคที่สุดในโลก พวกเขาใช้งบประมาณไปราว 4 หมื่นล้าน USD หรือราวๆ 1.3 ล้านล้านบาท ในขณะที่ประเทศไทยใช้งบ 66 ล้านล้านบาทในการบริหารประเทศตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา
ปัญหาหลักคือ “วิธีการคิด” ของภาครัฐกับภาคเอกชน มีความเเตกต่างกันมากเกินไป
เมืองใหม่ๆหลายที่ประกาศตนเองว่าเป็นเมืองเเห่งเทคโนโลยี เป็น “smart city” และเป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม “green city”
การทำงานที่เน้นไปทางด้านเทคโนโลยีนั้นไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก เเละไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งเเวดล้อม อีกทั้งเป็นการลงทุนระยะยาวที่สำคัญ ของประเทศในกลุ่มที่พัฒนาเเล้ว
บางประเทศยังนิยมให้เมืองใหม่ๆ เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ เเต่ต้องมีวิธี ที่จะลดมลพิษลงให้ได้มากที่สุด
บางประเทศสร้างรายได้จากแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นระยะเวลานาน เมื่อถึงคราวที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ พวกเขาจึงปล่อยให้ทุกๆอย่าง เกิดขึ้นเองเเบบธรรมชาติๆไร้ระบบเเบบแผน กลายเป็นว่าพื้นที่ที่ว่างเปล่านั้นถูกใช้ประโยชน์ได้อย่าง “ไม่เต็มที่” เท่าที่ควร
“เมื่อสร้างเมืองใหม่ ทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนใหม่ รวมทั้งระบบความคิดด้วย”
คนในพื้นที่ ที่มีทุนทรัพย์จะต้องตระหนักเสมอว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรสักอย่าง เพื่อหารายได้เข้าสู่จังหวัด
พวกเขาจะต้องหาหนทาง ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ไม่ว่าจะเป็น แหล่งน้ำมัน เหมืองเเร่ สินค้าการเกษตร จำนวนเเรงงานที่มีอยู่
ทุกอย่างจะต้องถูกใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด อย่างที่มันควรจะเป็น ต้องมีความชัดเจนว่า จะเป็นสินค้าที่ส่งออกไปต่างจังหวัดหรือส่งออกนอกประเทศ เเละผลกำไรนั้น จะนำกลับมาช่วยพัฒนาจังหวัดได้อย่างไร
หรือเเม้เเต่เงินที่ได้มาจากรัฐบาล ต้องมีความเเน่ชัดว่าเอามาจากไหน
ทั้งหมดเพื่อให้เเน่ใจว่าโปรเจกต์ที่กำลังสร้างอยู่จะไม่ล่าช้าหรือถูกล้มเลิกกลางทาง
3. สร้างงานสร้างอาชีพ
ถ้าเมืองของคุณต้องการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะต้องมีการจ้างงานเกิดขึ้น และจะต้องเป็นงานที่มีความมั่นคง
หลายประเทศได้มีการย้ายสำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานราชการที่สำคัญไปไว้ในเมืองที่สร้างใหม่เหล่านั้น เพียงเพราะต้องการการันตรี การงานที่มั่นคงให้กับชาวเมืองนั้นๆ ซึ่งวิธีนี้ได้ผลเป็นอย่างดีในหลายๆประเทศ เช่นเมือง Brasilia, Canberra, Abuja, Canberra, Ottawa, New Delhi

อีกอย่างที่สำคัญคือ จะต้องมีงานที่สอดคล้องกับคนในท้องที่ที่อยู่มาก่อนด้วย หลายๆประเทศล้มเหลวเพราะละเลยคนเหล่านี้ไป จนทำให้เกิดปัญหาความเลื่อมล้ำ ระหว่างคนที่มีรายได้สูง กับคนในชุมชนที่อยู่ดั้งเดิมที่มีรายได้ต่ำกว่า
ถ้าคนในพื้นที่ดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร คุณสามารถใส่ศูนย์วิจัยด้านการเกษตร หรือศูนย์นวัตกรรมด้านการเกษตรเพื่ออนาคตเข้าไป เพื่อเป็นการเชื่อมโยงคนเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ใช่กีดกันพวกเขาออกไป
4. วางระบบที่สำคัญ
ไม่ว่าจะเป็นระบบท่อใต้ดิน เพื่อระบายน้ำดีหรือน้ำเสีย การฝังสายไฟ ลู่วิ่งจักรยาน การแบ่งสัดส่วนของต้นไม้ เเละที่อยู่อาศัย ตำเเหน่งการวางหน่วยงานสำคัญต่างๆ เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ โรงเรียน เส้นทางการคมนาคมต่างๆ รวมถึงความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ทุกอย่างที่สามารถทำได้โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปเหยียบเมืองนั้นจริงๆเลยด้วยซ้ำ
5. ใส่สไตล์เข้าไป
อาจจะถือไปสูตรก็ว่าได้ ที่เมืองใหม่ๆระดับโลกมักจะมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์ ดูทันสมัย เป็นสากล ที่ถูกสร้างมาเมื่อเป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณเเละความคิดของชาวเมืองจากอดีตไปสู่อนาคต เป็นสัญลักษณ์ที่จะช่วยดึงดูดผู้คนให้เข้ามา ด้วยความงดงามในตัวของมันเอง
หลายๆที่วางแผนที่จะสร้างมหาวิทยาลัย ที่เน้นด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก หรือเน้นด้านงานวิจัยทางการเเพทย์ หรือนวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคต เพื่อดึงดูดคนเก่งให้เข้ามา เเละช่วยพัฒนาเมืองนี้ให้ไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน
ท้ายที่สุดเเล้วเราจะหลีกหนีการสื่อสาร การเเลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เเลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ในระดับนานาชาติไม่ได้อยู่ดี ถ้าเราอยากจะขยับประเทศของเรา ให้เข้าสู่ประเทศในกลุ่มที่พัฒนาเเล้ว
ยกตัวอย่าง Incheon เมืองเศรษฐกิจลำดับที่ 3 ของเกาหลีใต้ พวกเขาประกาศตัวออกมาเลยว่า จะเป็นเมืองเเห่งสากล จะเปิดกว้างให้ชาวต่างชาติที่มีคุณภาพเข้ามาลงทุนที่นี่ เป็นเมืองที่จะใช้ภาษาอังกฤษ จะมีการสอนภาษาอังกฤษให้ฟรีสำหรับพลเมือง เเละพยายามจะผลักดันให้เมืองเทียบเท่ากับฮ่องกง เเละสิงคโปร์ให้ได้
เพราะการเปิดรับมุมมองใหม่ๆที่เป็นสากล จะเป็นเเหล่งทรัพยากรทางความคิดที่สำคัญ ที่จะทำให้ชีวิตเราได้พบเจอกับโอกาส เเละความหวังใหม่ๆเสมอ
เเท้จริงเเล้ว ขั้นตอนเหล่านี้ ไม่ต่างจากวิธีการที่จะสร้างธุรกิจบางอย่างขึ้นมาเลย
ถ้าคุณต้องการให้มันประสบความสำเร็จ ในเเบบที่มันควรจะเป็น คุณจำเป็นที่จะต้องวางแผน
เพราะการหวังพึ่งพาเเต่ธรรมชาติอย่างเดียว…อาจจะยังไม่พอ
Source:
ติดตามเพจ :
0 comments on “อยากสร้างเมืองใหม่…ต้องเริ่มจากอะไร?”