ไม่ว่าคุณจะเก่งมาจากไหน เตรียมความพร้อมมาดีเเค่ไหน สิ่งหนึ่งที่คุณจะต้องเจอมันอยู่ดีคือ “การทำผิดพลาด” เเต่ทำไมคนบางคน…ถึงทำผิดพลาดซ้ำเเล้วซ้ำเล่ากับเรื่องเดิมๆ
ดังเช่นอัตราการเสียชีวิตของคนในสหรัฐฯ ซึ่งพบว่า…สาเหตุการตายของคนในประเทศส่วนใหญ่ ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ หรือเกิดจากโรคมะเร็ง
เเต่เกิดจาก “การผิดพลาดในการให้ยา”
ดูเหมือนว่าเราไม่ได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดอะไรเลย จากความผิดพลาดในอดีต
คล้ายๆกับบางประเทศที่มีการปฏิวัติซ้ำเเล้วซ้ำเล่า
มันเกิดจากอะไรกันเเน่?
ช้าก่อน!!! ( Hesitation )
เเท้จริงเเล้วสมองของมนุษย์ไม่ได้เรียนรู้สิ่งที่ผิดพลาดในอดีต “มากพอ” อย่างที่เราคาดหวังไว้ สมองจะทำงานช้าลง(Slow down) หรือชะลอ( Hesitation)การตัดสินใจของเราให้ช้าลง เเค่นั้น!
มันจะส่งสัญญาณออกมาเตือนเราอยู่ตลอดเวลา เเต่การที่คุณคิดมากไป อาจจะทำให้คุณละเลยที่จะสังเกตสัญญาณเหล่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น เด็กเล็กๆ พวกเขามีพัฒนาการเรียนรู้ที่เร็ว เขารู้ว่าสิ่งไหนไม่ควรทำ เพราะรู้ว่าอาจจะเจ็บ หรือสิ่งไหนที่ควรทำ เพราะอาจทำให้พ่อเเม่ปรบมือดีใจ
พวกเขาเรียนรู้มันจากความรู้สึก อะไรที่เป็นบวก กับอะไรที่เป็นลบ มากกว่าการหาเหตุผลเชิงวิเคราะห์ที่ซับซ้อนเหมือนในสมองของผู้ใหญ่
เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่หลายๆคนลดน้ำหนักไม่ได้สักที ถึงเเม้ว่าคุณจะรู้ว่าเค้กชิ้นนี้มีแคลฯเท่าไรก็ตาม เเต่มันก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะความรู้สึกที่เป็น “บวก” ของรสชาติ ยังคงมีอยู่ไม่ไปไหน
นอกจากนี้เด็กๆยังมีสิ่งที่เรียกว่า “Splitting” คือการเเบ่งเเยกอารมณ์ออกจากกันชัดเจน บวกกับลบ เกลียดกับชอบ ซึ่งจะเเสดงออกมาได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นตอนเวลาที่พวกเขาอารมณ์ไม่ดี พวกเขาจะร้องโวยวาย หรือเวลาที่พวกเขามีความสุข พวกเขาอาจจะกระโดดโลดเต้นตลอดทั้งวัน พลิกกลับไปกลับมาชัดเจน เเละเห็นภาพ
พวกเขาจะสัมผัสได้ถึงความกลัวตอนที่พ่อเเม่โมโห เวลาที่พวกเขาทำอะไรผิดพลาด แต่ความกลัวนั้นจะส่งผลกระทบต่อความกลัวเรื่องอื่นๆด้วย
พวกเขาจะไม่ทำผิดพลาดกับเรื่องเดิมๆก็จริง เเต่มันอาจจะทำให้พวกเขา กลายเป็นคนที่ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าทำอะไรเลยเช่นกัน
เเละเมื่อคนๆหนึ่งขาดความมั่นใจ…พวกเขาจะหนีไม่พ้นจากการทำผิดพลาดอยู่ดี ต่อสู้กันไปมาอยู่อย่างนี้ในความคิด จนทำให้เกิดเป็นความเครียด หรือโรคจิตบางชนิดได้ ในท้ายที่สุด
ปล่อยมันไป ( Let it go )
ในการเเข่งขันยูฟ่าเเชมป์เปี้ยนลีกนัดชิง คาริอุส ผู้รักษาประตูทีมลิเวอร์พูล ได้ทำผิดพลาด เขาเผลอส่งบอลให้กับกองหน้าทีมคู่เเข่งอย่างไม่ได้ตั้งใจ อันนำไปสู่การเสียประตู เป็นการทำผิดพลาดที่เเย่มากๆ สำหรับผู้รักษาประตูที่ทำผลงานได้ดีมาตลอดทั้งฤดูกาล โดยเฉพาะในนัดสำคัญเเบบนี้
เเต่เเล้วเขาก็ทำผิดพลาดอีกลูกจนได้ เขารับบอลหลุดมือเเบบช็อกสายตาแฟนบอลทั่วโลกจนลูกฟุตบอลเข้าประตูไป เขาอาจจะซ้อมรับลูกยิงเเบบนี้มาเเล้วเป็นพันๆรอบ เเต่นัดนี้มันมีอะไรที่ต่างออกไป ?
ถ้าหากเขาปล่อยวาง เเละไม่มัวเเต่คิดถึงความผิดพลาดในลูกเเรกที่เสียไป เหตุการณ์นี้อาจจะไม่เกิดขึ้นก็เป็นได้
เราอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวทำนองว่า…ให้เราหมั่นเรียนรู้ข้อผิดพลาดของเรา เเต่เอาเข้าจริงๆ การที่เรามัวเเต่ไปสนใจกับข้อผิดพลาดของตัวเอง มีเเต่จะทำให้เราผิดพลาดซ้ำเข้าไปอีก
ผู้ใหญ่จะมีสิ่งที่เรียกว่า “State-dependent recall” คือ การสร้างวิธีเเก้ไขบางอย่างขึ้นมา จากความทรงจำ ให้สอดคล้องกับอารมณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
จะเป็นความทรงจำที่เกิดจากการที่เราได้เห็นมา หรือการฝึกซ้อมบ่อยๆ บวกกับความรู้สึกที่เป็นลบหรือเป็นบวก ณ ขณะนั้น
ถ้าเรารู้สึกมั่นใจ เราจะลืมข้อผิดพลาดของเรา เราจะทิ้งมันไว้ในอดีต เช่น ฉันจะตอกตะปูให้ระวังกว่านี้ สมองของผู้ใหญ่ จะบอกให้เราจับตะปูในตำเเหน่งที่ถูกต้อง เพื่อที่จะสามารถ…ตอกตะปูเเรงๆลงไปได้ “อย่างมั่นใจ”
คุณจะหาวิธีที่ทำยังไงให้ตัวเองรู้สึกมั่นใจ หรือผ่อนคลายที่สุด มากกว่าหาวิธีกำจัดความกลัวที่เกิดจากความผิดพลาดในอดีต
“ความมั่นใจของเรา เป็นพลังด้านบวก ที่จะไม่ทำให้เรา…ทำผิดซ้ำอีก หรือถ้าคุณรู้ตัวว่าทำผิดพลาด ในเสี้ยววินาทีนั้น ความมั่นใจนี้จะทำให้คุณดึงสติกลับมาได้เร็ว“
เหมือนนางเเบบที่เดินอยู่บนแคทวอล์ค ที่ล้มลงเเล้วลุกขึ้นมาใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
เหมือนศิลปินที่ทำไมค์ตกเเล้วแก้สถานการณ์ได้
เหมือนรถที่ลื่นไถลเมื่อตอนฝนตกเเล้วหักหลบเสาไฟฟ้าได้ทัน
ถ้าพวกเขาเหล่านี้มัวเเต่คิด สถานการณ์อาจจะเลวร้ายเข้าไปกันใหญ่
เพราะฉะนั้น พยายามหลีกเลี่ยง ทบทวน หรือมัวพะวงกับความรู้สึกด้านลบของความผิดพลาดนั้นมากจนเกินไป มันจะดีกว่าถ้าเราใส่ใจความรู้สึกที่เป็นบวก กับความสำเร็จที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป กับอะไรๆที่เราสามารถ “ทำให้มันถูกต้องได้”
ในครั้งต่อไป เมื่อคุณพยายามที่จะเอาชนะข้อผิดพลาดเดิมๆให้ได้ ให้คุณหยุดสักพัก! เเล้วโฟกัสถึงความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นแทน
Sources :
ติดตามเพจ:
0 comments on “ทำไมเราถึงทำผิดพลาดซ้ำเเล้วซ้ำเล่า???”