การเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี สามารถทำให้สุขภาพของคุณเเข็งเเรงและมีส่วนช่วยทำให้คุณบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ แต่การมองโลกในแง่ดี “จนเกินไป” อาจจะส่งผลกับชีวิตในทางตรงกันข้าม…
จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงข้อเสียในการมองโลกในแง่ดีจนเกินไป ซึ่งมันจะส่งผลทำให้คนเหล่านั้น ไม่สามารถทำให้สิ่งที่ตนเองคาดหวัง อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงได้ พูดอีกอย่างก็คือ พวกเขาจะยึดถือความหวังเเบบ “ลมๆเเล้งๆ” เป็นเรื่องจริงจังอยู่เหนือเหตุผล
“Unrealistic optimism” ( หรือที่เรียกอีกอย่างว่า optimism bias ) คืออะไร ?
Unrealistic optimism คือมุมมองที่เกิดขึ้น จากการมองเห็นเเค่เพียงภายนอก ผิวเผิน ที่ไม่มีหลักฐานใดๆมายืนยันเพียงพอ พวกเขาจะสร้างภาพในหัว ต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เเละจะไม่เเสวงหาข้อเท็จจริงใดๆมาพิสูจน์ อีกทั้งยังมักส่งต่อความเชื่อของตน ให้กับคนที่มีความเชื่อที่ไปในทางเดียวกันได้รับรู้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมในสหราชอาณาจักรและสถาบัน Max Planck ระบุว่า เป็นสภาวะของคนที่ “เชื่อว่า” พวกเขาจะพบกับประสบการณ์ในด้านดี มากว่าประสบการณ์ในด้านลบอยู่เสมอ มากกว่าคนอื่นๆ เเละที่สำคัญคือ มากกว่าความเป็นจริง
“เรามักบอกเล่าเรื่องราวอะไรบางอย่างให้กับตัวเอง เพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น”
จากผลการศึกษาพบว่า อาจารย์มหาลัยมักจะประเมินตัวเองไว้สูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระบบการประเมินครูของทั้งโรงเรียนมัธยม หรือมหาวิทยาลัย ที่นอกจากเสียเวลาเเล้ว ยังไม่ช่วยอะไรต่อระบบการศึกษาเลย สิ่งที่ช่วยเเน่ๆคือ การทำให้อาจารย์คนนั้น “มีชีวิตรอด” อยู่ในระบบการศึกษาที่มัน “ควรจะดีกว่านี้” และควรจะอยู่บน “พื้นฐานของความเป็นจริง”
หรือจะเป็น ตอนที่เราเด็กๆ เราเรียนรู้ระบบเงินออม และเงินปันผล สิ่งที่ทำให้เด็กๆอย่างเราดีใจที่สุดคือเงินปันผล 10 บาทที่เราได้เพิ่มขึ้นมา เเต่จะมีสักกี่คนที่จะใส่ใจว่า กระบวนการระหว่างนั้นมันคืออะไร เกิดอะไรขึ้น ในการเปลี่ยนเงินต้นให้งอกเงย ?
ตัดภาพมาอีกทีกับข่าวเเชร์ลูกโซ่ ที่ไม่จบไม่สิ้น…เพราะทุกคนต่างมองหา “วิธีการ” ที่จะประสบความสำเร็จ จนละเลย “ปัจจัย” อื่นๆไป
เหมือนคนที่พยายามสูดดอกกุหลาบทั้งๆที่มันไม่ได้มีกลิ่นอะไร เหมือนที่เราไปซื้อเบอร์เกอร์ที่มันไม่เหมือนกับรูปในโฆษณา
เรามักถูกชักจูงได้ง่าย ด้วยรูปแบบจินตนาการบางอย่าง จนหลงลืมการใช้เหตุผล
“คนที่มีความเชื่อ มักมองเห็นอนาคตก่อนกระบวนการระหว่างทางเสมอ”
ปัญหาของคนในลักษณะนี้ คือ วิสัยทัศน์ ที่ดูไม่ชัดเจนเหล่านี้จะนำไปสู่การตัดสินใจ ที่ไม่ได้มีพื้นฐานจากความเป็นจริง ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ อย่างที่ควรจะเป็น
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้คนๆหนึ่งมองโลกในแง่ดีจนเกินไปคือ “การไม่พอใจกับสภาวะที่เป็นอยู่” เรามักจะหาวิธี หาหนทางให้ความเชื่อของตัวเองกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ หาเหตุผลต่างๆมารองรับความเชื่อของตัวเอง
เเทนที่การ “รู้” จากสิ่งที่เกิดขึ้นตามความจริง จากเหตุผล ที่ไม่ได้ยึดความเชื่อของตัวเองเป็นศูนย์กลาง
Sources : bigthink , sciencedirect
0 comments on “มองโลกในด้านดีจนเกินไป Vs งมงาย”