การสูญเสียความหมายของการแปล ( Lost in translation ) เกิดขึ้นได้บ่อยครั้งสำหรับงานแปล เวลาที่เราดูหนังซับ คนที่ใส่ซับ จะมีช่องให้เติมคำได้จำกัด ให้พอดีกับพื้นที่ของหน้าจอ พวกเขาจะหาคำอื่นมาใส่เเทน เเละ จะไม่เป็นการ translation อีกต่อไป เเต่จะใช้ interpretation คือการตีความ หาคำที่ใกล้เคียงที่ลงจังหวะพอดีที่สุดมาเเทน ทำให้ความหมายไม่ตรงกับเนื้อความต้นฉบับ 100% และยิ่งถ้าใส่เสียงทับเข้าไปอีก ความหมายที่เเท้จริงจะเหลือซักกี่เปอร์เซ็นต์กัน…
หนังสือ แฮรี่ พอตเตอร์ นิยายที่ขายดีระดับโลก แปลมามากกว่า 60 ภาษา 200 ประเทศ เจอปัญหาเเบบนี้เหมือนกัน เเละมีตัวอย่างที่น่าสนใจในหลายๆกรณี
ซึ่งนอกจากแปลให้ตรงความหมายเเละวัฒนธรรมของผู้อ่านในประเทศนั้นๆเเล้ว นักแปลยังต้องตีความสิ่งที่ JK Rollong พยายามจะสอดเเทรกเข้าไปในเนื้อหาด้วย นอกจากนี้ยังต้องจัดการ กับคำศัพท์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ การเล่นคำต่างๆ เเละมุกตลกในเเบบอังกฤษ
ส่วนใหญ่ตัวละครหลักจะยังคงใช้ทับศัพท์เหมือนเดิมอยู่ เเฮรี่, เฮอร์ไมโอนี่ ,รอน เเต่ความหมายที่ซ่อนอยู่จะหายไปในบางกรณี เช่น Siverus Snape ซึ่งมันจะออกเสียงเหมือนคำว่า Snake หรืองู ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญในเรื่อง งานแปลในภาษาอีตาลีจึงใช้คำว่า Siverus Piton ซึ่งออกเสียง python หรืองูเหลือม ,ในภาษาฝรั่งเศส จะใช้คำว่า Siverus “Rogue” ซึ่งหมายถึง Siverus “เย้อหยิ่ง”
ตัวอย่างการเล่นคำเช่น ตรอกไดแอกอน ( Diagon Alley ) ที่เป็นแหล่งซื้อของของพวกพ่อมด จะเล่นกับคำว่า Diagonally ( ทเเยงมุม ) หรือ ตรอกน็อกเทิร์น Nocturn Alley แหล่งขายของพวกศาสตร์มืด จะเล่นกับคำว่า Nocturnally ซึ่งแปลว่า “ยามราตรี”
ส่วนในหนังแฮกริด ซึ่งพูดด้วยสำเนียงท้องถิ่น บางประเทศจะปรับไปตามภาษาถิ่นของประเทศนั้น หรือใช้คำพูดในลักษณะที่ไม่เป็นทางการนัก หรือแปลตามปกติไปเลย
ในด้านวัฒนธรรมก็เช่นกัน อาหารเช้าที่จากต้นฉบับเป็นเบค่อน จะถูกเปลี่ยนให้เป็นไข่ดาว ในภาษาอารบิก
เเล้วถ้าหนังมีมุกตลกที่เเทรกเข้ามา ผู้แปลมักจะคิดคำ หรือประโยคขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ตรงกับวัฒนธรรมนั้นๆ เห็นได้ชัดในหนังตลกที่มักจะมีบทพูดเสริมเสมอ เเม้ว่าตัวละครจะไม่ขยับปากเลยก็ตาม ผู้จัดจำหน่ายจะใส่ใจด้านอารมณ์เป็นหลักมากกว่าเนื้อหา แต่บางประเทศถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ถึงขั้นมีการออกมาประนาม ผู้ที่ทำซับบิดเบือนจากเนื้อหาที่เเท้จริงเลยก็มี
หรือการหลีกหนีความจริงที่น่าเบื่อด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริง อาจเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมไทยไปเเล้ว?
เพราะวัฒนธรรมไทย…
ความเงียบเท่ากับ
“ความน่าเบื่อ”
เเต่บางวัฒนธรรม…
ความเงียบเท่ากับ
“การรอจังหวะ…เพื่อที่จะได้หัวเราะ ”
ท้ายที่สุดเเล้วไม่สำคัญเลยว่าเราอ่านจากต้นฉบับหรือฉบับแปล หนังมีซับหรือไม่ สิ่งหนึ่งที่ถูกตีความมาเหมือนกันคืออารมณ์ ความสนุก ความเกลียด ความรัก ที่ผู้ชมหรือผู้อ่านมีให้เเก่ตัวละครนั้นๆ
Sources : Vox , Asian boss
0 comments on “นิยายแปล / นิยายต้นฉบับ / ความจริงที่หายไป”