จินตนาการว่าคุณพยายามมากที่สุดเพื่อที่จะได้มาซึ่งอะไรบางอย่าง คุณต้องอดทนอยู่กับมันเป็นระยะเวลานานๆ คุณไม่เคยทำอย่างนี้มาก่อน คุณพยายามดึงพลังจากคนรอบข้าง คุณนึกถึงคนที่อยู่บ้าน ที่กำลังรอคอยที่จะได้ยินข่าวดี ถึงความสำเร็จของคุณ
คุณมีโอกาสที่จะเอาชนะ เเละบรรลุเป้าหมายที่คาดหวังได้ ถ้าหากลองคิดว่า…ความพยายามทั้งหลายที่ทำเหล่านี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่า ที่รอคอยคุณเช่นกัน…
สิ่งเล็กๆที่ยิ่งใหญ่
อาจจะดูย้อนแย้งกันสักหน่อย แต่บางครั้งเคล็ดลับของการประสบความสำเร็จอะไรสักอย่าง คือการมองตัวเองเป็นแค่สิ่งเล็กๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นส่วนเล็กๆในอะไรบางอย่างที่มันยิ่งใหญ่กว่า?
ถ้าคุณต้องการชนะในการแข่งกีฬา คุณสามารถที่จะพัฒนาตนเองโดยเก็บข้อมูลสถิติตัวเองในแต่ละวัน แต่เมื่อคุณรู้ว่าทั้งทีมกำลังจับตามองคุณอยู่ คุณไม่สามารถเปลี่ยนความคาดหวังของคนเหล่านั้นได้ สิ่งเดียวที่คุณสามารถทำได้ก็คือ…ทำยังไงให้ตัวเองชนะ ทำยังไงให้ตัวเอง…ทำได้ดีขึ้น แต่บางทีคุณเอาแต่ “คิดถึงตัวเอง” มากเกินไป
ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม เมื่อสมาชิกในทีมเข้าใจในบทบาทของตัวเอง ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่ง ที่เหมาะสม กับงานนั้น และไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่เก่งที่สุดของทีม ขอเพียงเข้าใจ ในหน้าที่ของตนเองพอ จะมีโอกาสเป็นไปได้สูง ที่ทีมจะประสบความสำเร็จ มากกว่าคนที่มีความคิด “อยากจะเอาชนะ”
เช่นเดียวกัน กับการมองถึงการพัฒนาของประเทศ ถ้าเราลองมองถึงอนาคตของประเทศที่ดียิ่งกว่า ทุกอย่างมันสามารถเป็นไปได้ทั้งนั้น มันดีกว่าที่จะมองถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรืออดีต ซึ่งอาจจะเป็นตัวตัดความหวังในการ “เริ่ม” ที่จะพัฒนาไป ประเทศจะไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้ ถ้าคนในประเทศไม่ได้มองไปในทิศทางเดียวกัน มองไปถึงอะไรๆที่มันดีกว่า หรือมองเเต่เรื่องของการเอาชนะกัน
การเอาชนะตัวเอง
เป็นแนวความคิด ในการลด “อีโก้” และ “การสำคัญตน” ซึ่งไม่เพียงแต่นำไปใช้ในด้านกีฬาเท่านั้น จากประวัติศาสตร์ เต็มไปด้วยตัวอย่างของผู้คนที่มีชัยเหนือคู่แข่งอย่างเหลือเชื่อ เพียงเพราะพวกเขาสามารถ “ก้าวออกจากตัวเองได้” หรือละทิ้งอีโก้ของตนเองได้สำเร็จ
ในฐานะจิตแพทย์และผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ Viktor Frankl กล่าวไว้ช่วงหนึ่งว่า…
“ภาระที่เกิดมาจากเงื่อนไขภายนอก ง่ายกว่าภาระที่ตัวเองยึดถือไว้ภายใน”
หลักการดังกล่าวอาจเป็นมุมมองพื้นฐานตามหลักศาสนา หรืออาจเป็นเพียงเเค่…ความปรารถนาที่จะเอาชีวิตรอดไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ของViktor Frankl
อีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าหลักการนี้ใช้ได้ผลในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์ใน The Academy of Management Review (2001) พบว่าภารโรงในโรงพยาบาลทำงานได้ดีขึ้น เมื่อจัดให้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจ “รักษาผู้ป่วย” ซึ่งเป็นการทำงานที่เป็นส่วนสำคัญในการรักษาสุขอนามัยของโรงพยาบาลและเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค เมื่อภารโรงเข้าใจถึงความสำคัญของตนเอง นอกจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นเเล้ว พวกเขายังมีความสุขมากขึ้นเช่นกัน
0 comments on “การที่เราจะทำอะไรดีๆสักอย่าง…บางทีเราอาจจะมองตัวเองท่ามกลางสิ่งที่ดียิ่งกว่า”