ตั้งแต่สติกเกอร์ดาวจนไปถึงประกาศนียบัตรนักเรียนดีเด่น เหล่านี้เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนภาคภูมิใจและอยากจะโชว์ว่าลูกของเขานั้นฉลาดเพียงใด แต่ในขณะเดียวกันแล้วพ่อแม่จะรู้หรือไม่ว่าวิธีการชื่นชมลูกนั้นมีผลต่อเขาในอนาคต นักวิทยาศาสตร์บอกว่าการชื่นชมลูกหรือการอวยลูกว่าพวกเขา “เก่ง” มีผลข้างเคียงในอนาคตที่น่าสนใจ ซึ่งมันจะดีกว่าถ้าชมลูกไปในทางที่ว่า….พยายามดีแล้ว เพื่อให้ความสำคัญต่อความอดทนมากกว่าผลลัพธ์…
มันไม่ผิดที่จะชมว่าพวกเขาเก่ง เวลาที่พวกเขาทำอะไรสำเร็จ แต่มันจะดีกว่าที่ให้ลูกได้เห็นว่าจริงๆแล้วผลลัพธ์ของสิ่งที่ทำนั้นเกิดจากกระบวนการอะไร การศึกษาในปี 1980s โชว์ให้เห็นว่า…เด็กที่ถูกชื่นชมว่าพวกเขาเก่ง ฉลาด แทนที่จะชื่นชมว่าพวกเขามีความพยายาม จะมีผลการเรียนที่ด้อยกว่า
มุมมองเป็นเรื่องสำคัญ?
ส่วนผลการศึกษาในปี 2006 ตีพิมพ์ในนิตยสาร journal Social Cognitive and Affective Neuroscience Jennifer A. Mangels และทีมนักวิจัยทดสอบเพื่อตรวจเช็ควิธีการทำงานของสมอง ในกลุ่มนักเรียนจาก 2 โรงเรียนแล้วถามคำถาม เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เช่น
“ความฉลาดของคนมีขีดจำกัด เเละเราไม่สามารถเเก้ไขให้มันดีกว่านี้ได้…เห็นด้วยหรือไม่?”
ใครที่เห็นด้วยกับประโยคนี้ จะถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่เเบบ fixed หรือ “มุมมองจำกัด”ซึ่งเป็นกลุ่มที่เชื่อว่าความฉลาดมีขีดจำกัดของมัน ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยจะถูกจัดอยู่ในเเบบ growth หรือ “มุมมองที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้” ซึ่งเชื่อว่าความฉลาดสามารถพัฒนาได้
เด็กจะทำข้อสอบร่วมกับข้อสอบวิชาการอื่นๆ ผ่านคอมพิวเตอร์ แล้วเฉลยว่าผิดหรือถูก จากนั้นให้ทำข้อสอบอีกครั้งเเต่ครั้งนี้ ให้ทำเฉพาะข้อที่ตอบผิด ในระหว่างนั้น นักวิจัยจะตรวจเช็คการทำงานของสมอง
ผลก็คือ สมองของนักเรียนทั้ง 2 แบบ ทำงานต่างกัน growth สามารถทำข้อสอบได้ดีกว่า ในการสอบครั้ง2 เเละสมองจะโฟกัสมากกว่าเมื่อตอนเฉลยคำตอบ
ซึ่งจากการประเมินบ่งชี้ว่า กลุ่มประเภท growth มีการเรียนรู้ได้ดีกว่า fixed ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่เเสดงให้เห็นว่ามุมมองเเละทัศนคติมีผลต่อการเรียนรู้จริง
ดังนั้น สิ่งที่พ่อเเม่ควรทำจาก Parenting Science คือการ “ปรับทัศนคติตัวเอง” เพราะไอเดียหรือมุมมองที่ผู้ปกครองมี จะส่งผลถึงลูก โดยที่ผู้ปกครองเอง “ไม่รูตัว” เมื่อปรับเเล้ว จูงใจ หรือฝึกเด็กให้ใช้สมองเหมือนการออกกำลังกาย ชื่นชมเค้าในความอดทน พยายาม เเละการทำงานหนัก มากกว่าการเป็นคน “เก่ง”
Source : The Rsr
ติดตามเพจ
0 comments on “ทำไมเราควรชื่นชมเด็กด้านความขยัน…ไม่ใช่ความฉลาดของพวกเขา?”